บทความ

รูปภาพ
  ภาวะหลับใน ภาวะหลับในคืออะไร ภาวะหลับในหรือการหลับระยะสั้น ๆ (Microsleep) เป็นปรากฏการณ์การสับสนระหว่างการหลับและการตื่น โดยการหลับเข้ามาแทรกการตื่นอย่างเฉียบพลันโดยไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 – 2 วินาที ต้นเหตุภาวะหลับใน ภาวะหลับในเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ อดนอน  การนอนน้อยหรือนอนไม่พอ ต่ำกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับใน เพราะสมองส่วนธาลามัสอาจหยุดทำงานสั้น ๆ ชั่วคราว ส่งผลให้เกิดความง่วงกะทันหัน (Sleep Attack) งีบหลับไม่รู้ตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้จนเกิดภาวะหลับในได้ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำหนักเพิ่ม เกิดภาวะซึมเศร้า หลอดเลือดสมองตีบ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ช้าลง หากอดนอนเรื้อรังในระยะยาว นอนไม่เป็นเวลา  นอนดึกตื่นสาย ส่งผลเสียต่อร่างกาย คือ ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่เต็มอิ่ม เช่น เข้านอนตี 4 ตื่นนอนเที่ยงวัน คุณภาพการนอนไม่ดีเท่ากับเข้านอน 4 ทุ่ม ตื่นนอน 6 โมงเช้า เป็นต้น เวลาเข้านอนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา  ส่งผลให้สมองงงและเกิดความเสื่อม เพราะปกติสมองจะจำเวลานอนและเกิดความง่วงในเวลานั้น ถ้าเปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย ๆ จะทำให้เวลานอนไม่ง่วง
รูปภาพ
  อัลปราโซแลม (ยาเม็ดม่วง) สรรพคุณของยาอัลปราโซแลม ใช้เป็นยารักษาภาวะวิตกกังวล (มีฤทธิ์คลายกังวล) เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder), โรคแพนิค (Panic disorder), โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia), ภาวะเครียดจากสิ่งกดดันภายนอก, ภาวะวิตกกังวลก่อนผ่าตัด, ภาวะวิตกกังวลที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย เป็นต้น ใช้เป็นยาช่วยให้นอนหลับ แก้อาการนอนไม่หลับ (มักใช้ในกรณีที่จำเป็น) ใช้เป็นยาร่วมรักษากลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา (Alcohol withdrawal syndrome) สำหรับผู้ที่เลิกเหล้า ใช้รักษาภาวะนั่งไม่ติ กลไกการออกฤทธิ์ของยาอัลปราโซแลม ยาอัลปราโซแลมจะมีกลไกการออกฤทธิ์โดยการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองมนุษย์ ทำให้เกิดฤทธิ์ตามสรรพคุณดังกล่าวข้างต้น โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็วหลังการรับประทานยาประมาณ 8-25 นาที ส่วนระยะเวลาในการดูดซึมของยาอัลปราโซแลมจะอยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง การออกฤทธิ์ของยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายไขมันของยา โดยยาที่ละลายในไขมันได้ดีจะออกฤทธิ์เร็ว เนื่องจากสามารถผ่านเข้าสู่สมองได้ง่าย แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาจะสั้นไปด้วย เนื่อง
รูปภาพ
คดีอาชญากรรมดังสะเทือนสังคม ‘เคนมผง’มรณะ-ขี้ยาตายเป็นใบไม้ร่วง   เปิดศักราชใหม่ ปี 2564 ได้ไม่กี่วัน จู่ๆ บรรดาสิงห์ขี้ยาพากัน ล้มตาย เป็นใบไม้ร่วง ประเดิมกลายเป็นข่าวดังครั้งแรกในวันที่ 11 ม.ค. เพียงวันเดียวมีผู้เสียชีวิตมากถึง 7 ศพ ในพื้นที่นครบาล และอีกหลาย รายในเวลาต่อมา ทั้งหมดมีอาการคล้ายกันคือ มึนเมาเหมือนคนเมาเหล้า สะลึมสะลือ ปากเขียวคล้ำ และมีเลือดออกทางจมูก พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข   ผบ.ตร. ต้องลงมาคุมคดีด้วยตัวเองทันทีเพราะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนทราบแน่ชัดว่าต้นตอมาจากยาเสพติดชนิดใหม่ที่มีชื่อเรียกในนักเสพว่า ‘เคนมผง’ และ ‘เคทะเลทราย’ เกิดจากการนำยาเสพติดหลายตัว เช่น เฮโรอีน ยาบ้า เคตามีน และยานอนหลับ มาผสมกันเองแบบมั่วๆ ให้ฤทธิ์แรงขึ้นแต่ราคาถูกลง จนเป็นที่นิยมของนักเสพ ตำรวจระดมกวาดล้างจับกุมบรรดาผู้ค้าที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี จำนวนมาก ทำให้ยาเสพติดมรณะสูตรนี้หายไปจากสังคมในที่สุด เมาขับเก๋งชนยับ 3 ศพ ‘รองนางสาวไทย’ดับ เช้ามืดวันที่ 15 ก.พ. รถเก๋งพลิกคว่ำภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ทางแยกคณะนิติศาสตร์ อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตคาที่ 2 ศพ ส่วนคนขับเป็นชายหนุ่มมีแ
รูปภาพ
  เป็นเหี้ยอะไร? รวมชนิดของน้องเหี้ยที่พบในไทย ควรรู้ไว้จำแนกประเภท เหี้ย  มีศัพทมูลวิทยาโดยใช้คำว่า  Varanidae  หรือ  Varanus  โดยน้องเป็น สัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการของตัวเองมาแล้วนานกว่า 300 ล้านปี เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสัตว์กินซากที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะเป็นผู้ขจัดซากของสัตว์ที่ล้มตายไปแล้ว โดยน้องเหี้ย มีรูปร่างโดยรวม จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายกับจระเข้ มีโคนหางที่แข็งแรง และหางยาว ซึ่งใช้ฟาดเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัว ลิ้นยาวมี 2 แฉก ซึ่งมักจะแลบออกมาบ่อย ๆ เพื่อเป็นประสาทสัมผัสเช่นเดียวกับงู ขาทั้ง 4 มีเล็บที่แหลมคมใช้สำหรับขุดหลุมเพื่อวางไข่ ปีนต้นไม้ และป้องกันตัว เกล็ดมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน มีสีสันและลวดลายต่างออกไปในแต่ละชนิด เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย ทั้งทะเลทราย, ป่าดิบ หรือแม้แต่กระทั่งชุมชนเมืองใหญ่ของมนุษย์ นอกจากนี้แล้วยังว่ายน้ำได้เก่ง ดำน้ำได้ดี และในบางชนิดยังชอบที่จะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่พบอยู่ 6 สายพันธุ์  โดยแต่ละชนิดที่พบแ